วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การยกน้ำหนัก

กติกาการยกน้ำหนัก

1. ท่ายกสองท่า
1.1 สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF) รับรองการยกทั้งสองท่าที่จะต้องทำให้สำเร็จตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
- ท่าสแนทช์
- ท่าคลีนแอนด์เจอร์ค
1.2 การยกทั้งสองท่าดังกล่าวข้างต้น ต้องยกโดยใช้มือทั้งสองข้าง
1.3 การยกแต่ละท่า กำหนดให้ยกได้ไม่เกินสามครั้ง
2. ผู้เข้าแข่งขัน
2.1 การแข่งขันยกน้ำหนักจัดขึ้นสำหรับผู้ชายและผู้หญิง นักกีฬาสามารถเข้าแข่งขันตามรุ่นที่กำหนดอยู่ในกติกา โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์
2.2 ในทางปฏิบัติ สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ กำหนดประเภทตามกลุ่มอายุไว้ 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
- รุ่นเยาวชน อายุไม่เกิน 20 ปี
- รุ่นทั่วไป
 หมายเหตุ 1. นักยกน้ำหนักชายที่เข้าแข่งขันโอลิมปิก และการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลกต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ป
2. นักยกน้ำหญิงที่เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี
3. การคำนวณอายุตามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น จะคำนวณตามรอบวันเกิดของผู้เข้าแข่งขัน
3. การแบ่งรุ่น
3.1 การแข่งขันประเภทขาย ทั้งประเภทเยาวชนชาย และประเภทชายทั่วไป แบ่งออกเป็น 10 รุ่น ตามกฎของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ดังต่อไปนี้
1. รุ่น 54 กิโลกรัม 2. รุ่น 59 กิโลกรัม
3. รุ่น 64 กิโลกรัม 4. รุ่น 70 กิโลกรัม
5. รุ่น 76 กิโลกรัม 6. รุ่น 83 กิโลกรัม
7. รุ่น 91 กิโลกรัม 8. รุ่น 99 กิโลกรัม
9. รุ่น 108 กิโลกรัม 10. รุ่น 108 กิโลกรัม ขึ้นไป
3.2 การแข่งขันประเภทหญิง แบ่งออกเป็น 9 รุ่น ตามกฎสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ดังต่อไปนี้
1. รุ่น 46 กิโลกรัม 2. รุ่น 50 กิโลกรัม
3. รุ่น 54 กิโลกรัม 4. รุ่น 59 กิโลกรัม
5. รุ่น 64 กิโลกรัม 6. รุ่น 70 กิโลกรัม
7 รุ่น 76 กิโลกรัม 8. รุ่น 83 กิโลกรัม
9. รุ่น 83 กิโลกรัม ขึ้นไป
3.3 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก ทวีป ภาคพื้นทวีป และการแข่งขันอื่น ๆ แต่ละประเทศจะส่งนักยกน้ำหนักเข้าแข่งขันได้ 10 คน และนักกีฬาสำรองได้อีก 3 คน โดยแยกเป็นนักกีฬาสำรองในรุ่นต่าง ๆ ได้ และในแต่ละรุ่นจะมีนักกีฬาเกิน 2 คนไม่ได้ ในการแข่งขันโอลิมปิก แต่ละประเทศจะส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันได้ 10 คน และมีนักกีฬาสำรองได้อีก 2 คน โดยแยกตามนักกีฬาสำรองในรุ่นต่าง ๆ ได้ และในแต่ละรุ่นจะมีนักกีฬาเกิน 2 คนไม่ได้
3.4 ในการแข่งขันประเภทหญิงชิงชนะเลิศของโลก ทวีป ภาคพื้นทวีป และการแข่งขันอื่น ๆ แต่ละประเทศจะส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันได้ 9 คน และมีนักกีฬาสำรองได้อีก 2 คน ซึ่งในแต่ละรุ่นจะมีนักกีฬาเกิน 2 คนไม่ได้
3.5 ในการเข้าร่วมการแข่งขัน นักกีฬาไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เกินกว่า 1 รุ่น
การเคลื่อนไหวในการยกน้ำหนักทั้งสองท่า
garfield001.gif (41249 Byte)              1. ท่าสแนทช์
               1.1 คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานยกต้องจับโดยการคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงขึ้นจากพื้นในจังหวะเดียว ให้แขนทั้งสองเหยียดตรงสุดอยู่เหนือศีรษะ ในขณะที่ขาทั้งสองข้างแยกออกจากกันหรืองอเข่าย่อตัวลง ในระหว่างการยกอย่างต่อเนื่องนั้น คานยกอาจเคลื่อนที่ฝ่ายหน้าขาหรือตักก็ได้และส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจะสัมผัสพื้นไม่ได้ นอกจากเท้าทั้งสองข้างเท่านั้น ตำแหน่งสุดท้ายในการยกด้วยท่าสแนทช์ แขนและขาต้องเหยียดตรง ปลายเท้าทั้งสองข้างต้องอยู่ในแนวเดียวกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในลักษณะนี้จนกว่าผู้ตัดสินจะให้สัญญาณวางคานยกลงบนพื้นได้ การพลิกข้อมือจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ยกคานยกพ้นศีระษะไปแล้วเท่านั้น และนักกีฬาจะจัดท่ายืนใหม่จากท่ายืนแยกขา หรือท่าย่อตัวเพื่อให้เท้าทั้งสองอยู่ในแนวที่ขนานกับลำตัวและคานยกได้ภายในเวลาไม่จำกัด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณวางคานยกลงพื้นได้ในทันที เมื่อเห็นว่าทุกส่วนขอร่างกายนิ่ง
             2. ท่าคลีนแอนด์เจอร์ค
                2.1 จังหวะที่ 1 การคลีน คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานยกจำคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงคานยกจากพื้นสู่ระดับไหล่ด้วยการเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียวในขณะที่ยืนแยกขาหรืองอเข่าลง ระหว่างการดึงคานยกขึ้นสู่ระดับไหล่นี้ คานยกอาจเคลื่อนที่ผ่านตามหน้าขาหรือตักได้ และคานยกต้องไม่แตะหน้าอกก่อนจะถึงลักษณะสุดท้ายคือ การวางพักคานยกไว้ที่ไหปลาร้าบนหน้าอกเหนือราวนม หรือบนแขนที่งอสุด เท้าทั้งสองกลับไปอยู่ในแนวเดียวกันขาทั้งสองเหยียดตรงก่อนที่จะเจอร์ค (คือ การยกน้ำหนักให้แขนทั้งสองเหยียดตรง) นักยกน้ำหนักจะสามารถจัดตำแหน่งให้อยู่ในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่กำหนดเวลาและต้องวางเท้าทั้งสองให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยขนานกับคานยกและลำตัว
                2.2 จังหวะที่ 2 การเจอร์ค นักยกน้ำหนักงอเข่าลงทั้งสองข้าง แล้วเหยียดขาพร้อม ๆ กันเหยียดแขนตรงเพื่อยกคานยกขึ้นสู่แนวดิ่ง โดยที่แขนทั้งสองเหยียดตรงเต็มที่ นักยกน้ำหนักชักเท้าทั้งสองกลับให้มาอยู่ในแนวเดียวกัน ในขณะที่ขาและแขนทั้งสองยังเหยียดตรงอยู่ แล้วคอยสัญญาณให้วางคานยกลงได้จากผู้ตัดสิน โดยผู้ตัดสินจะส่งสัญญาณให้ลดคานยกลงได้ทันทีที่เห็นว่านักยกน้ำหนักยืนนิ่งปราศจากการเคลื่อนไหว
สิ่งสำคัญที่ควรทราบ หลังจากการยกท่าคลีน และก่อนที่จะยกท่าเจอร์ค นักยกน้ำหนักสามารถตรวจสอบ การจัดตำแหน่งของคานยกได้ แต่การนี้ต้องไม่ทำให้เกิดความสับสน และเข้าใจผิดขึ้นได้ การยอมให้จัดตำแหน่งของคานยก มิได้หมายความว่า ยอมให้นักยกน้ำหนักใช้จังหวะที่สองได้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ยอมให้นักยกน้ำหนักปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังต่อไปนี้
- กดหรือไม่กดหัวแม่มือได้ตามวิธีที่เขาถนัด
- ลดคานยกลงมาพักไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้าง ในกรณีที่คานยกอยู่ในระดับสูงเกินไป ทำหใหายใจไม่สะดวก หรือทำให้เกิดความเจ็บปวด
- เปลี่ยนความกว้างของมือที่จับคานยก
               3. กติกาทั่วไปในการยกทั้งสองท่า
                   3.1 อนุญาตให้ใช้วิธีการจับคานยกโดนวิธีฮุคได้ ซึ่งวิธีจับแบบฮุคคือ กาจับคานยกโดยใช้นิ้วมือกดข้อปลาย หรือข้อสุดท้ายของหัวแม่มือในการจับคานยก
                  3.2 ในการยกทั้งสองท่า ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินว่าไม่ผ่าน ถ้าการยกนั้นไม่สำเร็จ โดยที่นักยกน้ำหนักได้ดึงคานยกขึ้นถึงระดับเข่าแล้ว
                  3.3 หลังจากผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณลดคานลงพื้นแล้ว นักยกน้ำหนักต้องลดคานยกลงทางด้านหน้าของตน ห้ามทิ้งคานเหล็กลงไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือบังเอิญก็ตาม นักยกน้ำหนักจะคลายการจับได้ต่อเมื่อคานยกลงมาต่ำกว่าระดับเอวของตนแล้ว
                3.4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดไม่สามารถเหยียดแขนให้ตรงสุดได้ เนื่องจากข้อบกพร่องทางสรีระ ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทั้งสามคน รวมทั้งกรรมการควบคุมการแข่งขันทราบก่อนเริ่มการแข่งขัน
               3.5 ในขณะที่ทำการยกท่าสแนทช์หรือท่าคลีนจากท่านั่งงอเข่า นักยกน้ำหนักอาจช่วยการทรงตัว โดยการโยกหรือโคลงร่างกายของตนได้
               3.6 ห้ามใช้ไขมัน น้ำมัน น้ำ แป้ง หรือสิ่งอื่นใดที่คล้ายกันช่วยให้เกิดความลื่นที่หน้าขา เพราะนักยกน้ำหนักจะมีสิ่งช่วยความลื่นที่ขาไม่ได้ เมื่อเข้าไปถึงที่ทำการแข่งขัน นักยกน้ำหนักที่ใช้สิ่งช่วยความลื่นจะถูกสั่งให้เช็ดออกระหว่างการเช็ดความลื่นออกจากหน้าขา จะไม่มีการหยุดนาฬิกาจับเวลา และอนุญาตให้ใช้ผงกันลื่นทาฝ่ามือ หน้าขา ฯลฯ ได้
4. การเคลื่อนไหวทีไม่ถูกต้องในการยกน้ำหนัก
4.1 การดึงจากท่าแขวน (ดึงสองขยัก)
4.2 ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายนอกจากเท้าสัมผัสพื้น
4.3 แขนทั้งสองข้างเหยียดไม่เท่ากัน หรือเหยียดไม่สุดเมื่อสิ้นสุดการยก
4.4 หยุดชะงักระหว่างการเหยียดแขนทั้งสอง
4.5 สิ้นสุดการยกด้วยการดันแขน
4.6 งอหรือเหยียดแขนขณะเข้าสู่ท่าสิ้นสุดการยก
4.7 ออกนอกพื้นการแข่งขันระหว่างการยก ซึ่งหมายถึงส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสนพื้นนอกบริเวณพื้นการแข่งขัน
4.8 วางคานยกลงก่อนได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
4.9 ทิ้งคานยกลงบนพื้นไปทางข้างหน้าหรือข้างหลัง หลังจากได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสินแล้ว
4.10 สิ้นสุดการยกโดยเท้าทั้งสองและคานยกไม่อยู่ในแนวเดียวกับลำตัว
4.11 ไม่วางคานยกทั้งชุดลงพื้นการแข่งขันเมื่อสิ้นสุดการยก คือ คานยกทั้งชุดจะต้องสัมผัสพื้นการแข่งขันก่อน
5. การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่าสแนทช์
5.1 หยุดชะงักระหว่างการยก
5.2 คานยกสัมผัสศีรษะ ขณะสิ้นสุดการยก
6. การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่าคลีน
6.1 วางคานยกบนหน้าอกก่อนพลิกข้อศอก
6.2 ข้อศอกหรือต้นแขนสัมผัสหัวเข่าหรือต้นขา
7. การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้องสำหรับท่าเจอร์ค
7.1 พยายบามอย่างเห็นได้ชัดที่จะทำท่าเจอร์ค แต่ไม่สำเร็จ รวมทั้งการย่อตัวหรืองอเขา
7.2 จงใจเขย่าหรือสั่นคานยก เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการยกน้ำหนักท่าเจอร์ค ตัวนักกีฬาและคานยกจะต้องนิ่งไม่ขยับเขยื้อนก่อนที่จะเจอร์ค
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันยกน้ำหนัก
1. คานยก
1.1 ให้ใช้คานยกตามคุณสมบัติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ เพื่อใช้ในการแข่งขันได้เท่านั้น
1.2 คานยกต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
ก. คานยก
ข. แผ่นเหล็ก
ค. ปลอกยึด
คานยก ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- หนัก 20 กิโลกรัม
- ยาว 2,200 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร
- เส้นผ่าศูนย์กลางของคาน 28 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-0.03 เมตร ตรงส่วนที่เรียบ
- เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปลายคาน 50 มิลลิเมตร ยอมให้เคลื่อนได้ +/-0.2 มิลลิเมตร
- ระยะระหว่างปลอกยึดด้านในทั้งสองข้าง 1,310 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อน +/-0.5 มิลลิเมตร
- ความกว้างของปลอกยึดปลอกด้านในเท่ากับ 30 มิลลิเมตร คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร
- เพื่อให้จับได้มั่นมือ และเพื่อแสดงตำแหน่งมือของนักยกน้ำหนักคานยกต้องกลึงลายตรงจุดที่แสดงในภาพที่ 1
แผ่นเหล็ก ต้องมีลักษณะตามข้อกำหนดดังนี้
- น้ำหนักและสีต่าง ๆ ของแผ่นเหล็ก มีดังนี้
แผ่นเหล็ก 25 กิโลกรัม สีแดง
แผ่นเหล็ก 20 กิโลกรัม สีน้ำเงิน
แผ่นเหล็ก 15 กิโลกรัม สีเหลือง
แผ่นเหล็ก 10 กิโลกรัม สีเขียว
แผ่นเหล็ก 5 กิโลกรัม สีขาว
แผ่นเหล็ก 2.5 กิโลกรัม สีดำ
แผ่นเหล็ก 1.25 กิโลกรัม สีเงิน (โครเมียม)
แผ่นเหล็ก 0.5 กิโลกรัม สีเงิน (โครเมียม)
แผ่นเหล็ก 0.25 กิโลกรัม สีเงิน (โครเมียม)
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่นใหญ่ที่สุด 450 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร
- เส้นผ่าศูนย์กลาง 450 มิลลิเมตร ให้วัดรวมทั้งยางหรือพลาสติกที่ใช้เคลือบ หรือฉาบด้วยสีชนิดถาวร หรือสีซึ่งทาไว้ที่ขอบจาน
- แผ่นเหล็กที่หักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม อาจทำด้วยโลหะเพียงอย่างเดียวก็ได้
- แผ่นเหล็กทั้งหมดจะต้องมีตัวเลขบอกน้ำหนักที่เห็นได้ชัดเจน
ปลอกยึด คานยกแต่ละชุดจะต้องมีปลอกยึด 2 ตัว เพื่อยึดแผ่นเหล็กให้ติดแน่นกับคาน ปลอกยึดแต่ละตัวหนัก 2.5 กิโลกรัม
1.3 อุปกรณ์ที่กำหนดให้มีน้ำหนักเกินกว่า 5 กิโลกรัม ขึ้นไปอนุโลมให้น้ำหนักเกินได้ 0.1 เปอร์เซ็นต์ และให้น้ำหนักขาดได้ 0.05 เปอร์เซ็นต์ สำหรับส่วนประกอบที่กำหนดน้ำหนักไว้ 5 กิโลกรัม หรือน้อยกว่า อนุโลมหใน้ำหนักเกินได้ 10 กรัม แต่ะจน้อยกว่าน้ำหนักที่กำหนดไว้ไม่ได้
1.4 การใส่แผ่นเหล็ก ต้องประกอบแผ่นที่ใหญ่ที่สุดไว้ในสุด แล้วจึงใส่แผ่นเหล็กที่มีขนาดเล็กลงตามลำดับ และต้องประกอบให้ตัวเลขบอกน้ำหนักของแผ่นเหล็กหันไปทางปลายคานยก เพื่อให้กรรมการตัดสินอ่านตัวเลขบอกน้ำหนักของแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นได้ เมื่อใส่แผ่นเหล็กถูกต้องแล้ว ต้องขันปลอกยึดแผ่นเหล็กให้แน่นทุกครั้ง
2. พื้นสำหรับการแข่งขัน
2.1 การแข่งขันยกน้ำหนักต้องกระทำบนพื้นสำหรับการแข่งขัน
2.2 พื้นสำหรับการแข่งขัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร หากพื้นโดยรอบเวทีมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นสำหรับการแข่งขัน ต้องตีเส้นด้วยสีที่แตกต่างกว้างอย่างน้อย 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) ไว้ที่ขอบบนสุดของพื้นการแข่งขัน
2.3 พื้นสำหรับการแข่งขัน อาจทำด้วยไม้หรือพลาสติก หรือวัสดุผสม และปูด้วยวัสดุกันลื่น
2.4 ความสูงของพื้นแข่งขันจะสูงได้ระหว่าง 50-150 มิลลิเมตร
3. ระบบไฟฟ้าตัดสิน
3.1 ระบบสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดสิน ประกอบด้วย
- กล่องควบคุมสำหรับผู้ตัดสิน 3 คน คนละ 1 กล่อน กล่องควบคุมนี้ประกอบด้วยปุ่มกดสำหรับการตัดสิน 2 ปุ่ม คือ ปุ่มสีแดง และปุ่มสีขาว และมีปุมสัญญาณอีก 1 ปุ่ม
- เครื่องให้สัญญาณเอาเหล็กลงที่เป็นแบบโสตทัศน์ ติดอยู่บนขาตั้งทางด้านหน้าของเวทีการแข่งขัน
- ไฟสัญญาณแสดงผลการตัดสิน จะติดตั้งไว้ในแนวนอน ซึ่งประกอบด้วย หลอดไฟสีขาว 3 ดวง สีแดง 3 ดวง อย่างน้อย 2 ชุด เพื่อให้นักยกน้ำหนักและผู้ชมทราบผลการตัดสินของผู้ตัดสิน
- แผงควบคุม 1 ชุด หรือมากกว่า ประกอบด้วยหลอดไฟสีแดง 3 ดวง และสีขาว 3 ดวง หลอดไฟเหล่านี้จะต้องส่งแสงออกมาทันที เมื่อผู้ตัดสินกดปุ่มบังคับตามสีที่ต้องการ แผงควบคุมเหล่านี้วางไว้บนโต๊ะของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ซึ่งต้องมีเครื่องส่งสัญญาณเรียกผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่ง หรือทุกคนให้มายังโต๊ะของกรรมการควบคุมการแข่งขันได้ด้วย
3.2 ระบบการปฏิบัติการใช้เครื่องมือตัดสิน ในระหว่างการดำเนินการแข่งขันอยู่นั้น ทันใดที่ผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ได้ตัดสินใจให้การยกครั้งนั้นผ่าน ผู้ตัดสินจะกดปุ่มไฟสีขาว กล่องควบคุมอุปกรณ์ระบบการตัดสินที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าของเวทีจะแสดงไฟสีขาว และพร้อมกันนั้นจะมีเสียงสัญญาณให้นักยกน้ำหนักลดคานยกลงพื้นได้ เมื่อผู้ตัดสินทั้ง 3 คน พิจารณาเห็นว่าในขณะการยกนั้น นักกีฬายกผิดกติกา ผู้ตัดสินทั้ง 3 คน จะให้สัญญาณไม่ผ่าน โดยกดปุ่มสีแดงที่กล่องควบคุม และทันใดนั้นกล่องควบคุมอุปกรณืระบบการตัดสินที่หน้าเวที จะแสดงไฟสีแดง และมีเสียงสัญญาณลง ให้นักกีฬาลดคานยกลงพื้น ไฟตัดสินจะสว่างขึ้นต่อเมื่อผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 คน ได้กดปุ่มสวิตช์ และไฟนั้นจะยังคงสว่างค้างอยู่อย่างน้อย 15 วินาที ถ้าผุ้ตัดสินคนหนึ่งกดไฟสีขาว และอีก 1 คน กดไฟสีแดง ขณะเดียวกันผู้ตัดสินคนที่ 3 ไม่ได้กดปุ่มไฟเครื่องจะส่งเสียงให้ได้ยินเป็นช่วง ๆ เตือนให้กดปุ่มไฟ และเช่นเดียวกันเมื่อปรากฎว่าไฟสีขาวทั้ง 2 ดวง หรือไฟสีแดงขึ้น 2 ดวง ได้ถูกกดโดยผู้ตัดสิน 2 คน ใน 3 คน และเสียงสัญญาณลงปรากฎขึ้นแล้ว ผู้ตัดสินคนที่ 3 จะถูกเตือนให้กดปุ่มไฟด้วยเสียงให้ได้ยินเป็นช่วง ๆ เตือนเช่นกัน หลังจากที่ได้มีสัญญาณเสียงลงแล้ว และก่อนที่ไฟการตัดสินจะปรากฎขึ้น ผู้ตัดสินมีเวลา 3 วินาที ที่จะเปลี่ยนการตัดสินใจได้ เช่น หลังจากที่สิ้นสุดการยกที่ดีไปแล้ว ปรากฎว่านักกีฬาได้ทิ้งคานยกลงพื้น ผู้ตัดสินทั้ง 3 คนจะกดปุ่มไฟสีแดง และสัญญาณไฟสีแดงก็จะปรากฎออกมา แสดงว่าไม่ผ่าน
3.3 ผู้ตัดสินทั้ง 3 คน มีสิทธิ์ในการตัดสินใจและการวินิจฉัยของตนเอง แต่ละครั้งจะให้สัญญาณลงโดยกดปุ่มสวิตช์ไฟสีขาวสำหรับการยกผ่าน หรือไฟสีแดงในการยกไม่ผ่าน ซึ่งเป็นไปตามกติกาของการแข่งขันยกน้ำหนัก หากผู้ตัดสินเห็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องระหว่างทำการยก จะต้องกดปุ่มสวิตช์ไฟสีแดงทันที
3.4 การตรวจสอบของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน อาจจะตรวจสอบการทำงานของกรรมการตัดสิน โดยการมองและควบคุมของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ซึ่งการตัดสินใจของผู้ตัดสินทุก ๆ ครั้ง ตามที่ปรากฎทันทีของไฟที่แผงสวิตช์ควบคุม เมื่อผู้ตัดสินได้กดปุ่มสวิตช์ที่เหมาะสมไป การกดช้า กดเร็วหรือไม่มีการตัดสิน ซึ่งอาจไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่ปรากฎขึ้น ประธานกรรมการควบคุมการแข่งขันอาจเรียกผู้ตัดสินคนใดไปที่โต๊ะ โดยการกดปุ่มส่งเสียงเรียกผู้ตัดสินผู้นั้นให้ได้ยิน
               4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
4.1 ในกากรแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก การแข่งขันโอลิมปิก และในการแข่งขันระหว่างชาติครั้งสำคัญ เช่น การแข่งขันเวิลด์คัพ และการแข่งขันในภาคพื้นทวีป เครื่องชั่งต้องสามารถชั่งน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม และมีความละเอียดบอกหน่วยย่อยน้อยที่สุดได้ถึง 10 กรัม
4.2 เมื่อเข็มเครื่องชั่งได้ชี้อย่างถูกต้องแล้ว น้ำหนักตัวจะถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
4.3 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก การแข่งขันโอลิมปิก และการแข่งขันครั้งสำคัญระดับนานาชาติ จะต้องมีเครื่องชั่งแบบที่เหมือนกันจัดไว้ใกล้ห้องชั่งน้ำหนักตัว เพื่อให้นักกีฬาได้มีโอกาสตรวจสอบน้ำหนักตัวของตนได้
4.4 ใบรับรองเครื่องชั่งที่นำมาพร้อมกับเครื่องชั่ง ต้องเป็นใบรับรอง ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ในวันที่ทำการแข่งขัน
                5. นาฬิกาจับเวลา
5.1 ในการแข่งขันอย่งเป้ฯทางการของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ จะใช้นาฬิกาจับเวลาไฟฟ้า ซึ่งต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- สามารถจับเวลาได้อย่างต่อเนื่อง 15 นาที เป็นอย่างน้อย
- สามารถบอกช่วงเวลาได้อย่างน้อย 10 วินาที
- สามารถให้สัญญาณเสียงอัตโนมัติ 30 วินาที ก่อนหมดเวลายก
5.2 เวลาที่ผ่านไปขณะนักกีฬากำลังยกน้ำหนัก จะต้องปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนพร้อมกันทั้งเวทีการแข่งขัน และในบริเวณพื้นที่อบอุ่นร่างกายของนักกีฬา
5.3 กรรมการจับเวลาต้องเป็นกรรมการชั้น 1 หรือชั้น 2 ของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ
               6. เอกสารหรือแบบพิมพ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารหลักฐานที่ต้องจัดทำขึ้น เพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปด้วยด
6.1 เอกสารขั้นต้น จัดทำขึ้นหลังจากเสร็จการประชุมด้านเทคนิคแล้ว เอกสารนี้ต้องระบุชื่อในรายละเอียดของผู้เข้าแข่งขัน รุ่นที่เข้าแข่งขัน กลุ่ม และเวลาในการชั่งน้ำหนักอย่างเป็นทางการ และเวลาในการแข่งขัน
6.2 แบบใบบันทึกผลการชั่งน้ำหนัก เป็นหลักฐานที่เลขานุการจัดการแข่งขันใช้ในการแข่งขันแต่ละรุ่นหรือแต่ละกลุ่ม ซึ่งต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้คือชื่อของนักยกน้ำหนัก เลขประจำตัวของนักยกน้ำหนัก ชื่อประเทศและน้ำหนักตัวที่ถูกต้อง ซึ่งมีกรรมการ 3 คน เป็นผู้ลงนามรับรอง
6.3 ใบส่งน้ำหนักเหล็ก ผู้ใช้บัตรนี้คือเจ้าหน้าที่เดินน้ำหนักเหล็กบัตรนี้ระบุชื่อ เลขประจำตัว ชื่อประเทศ รุ่น และกลุ่มของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน บนบัตรนี้ผู้ฝึกสอนจะเป็นผู้บันทึกน้ำหนักเหล็กแต่ละครั้งในการยกทั้งสองท่าของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน
6.4 ใบแจ้งผลการแข่งขัน จะเขียนด้วยมือหรือพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ เอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารรับรองผลการแข่งขันแต่ละรุ่น จะต้องลงนามรับรองในรายละเอียดและความถูกต้องโดยเลขานุการจัดการแข่งขัน และประธานกรรมการควบคุมการแข่งขัน
6.5 ใบบันทึกผลการแข่งขันใช้สำหรับบันทึกสถิติใหม่ทุกอย่างที่นักยกน้ำหนักทำขึ้นระหว่างการแข่งขัน แบบพิมพ์นี้ต้องบันทึกรายละเอียดทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง โดยระบุสถิติ แต่ละท่า วันที่ จำนวน รุ่น น้ำหนักตัว และชื่อของผู้ทำสถิตินั้น ๆ เอกสารฉบับนี้ต้องมีกรรมการตัดสิน 3 ึคน ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเป็นผู้ลงนามรับรอง
6.6 บัตรผ่านเข้าบริเวณพื้นที่อบอุ่นร่างกาย ใช้ได้เฉพาะนักกีฬาเฉพาะรุ่น หรือกลุ่มที่จ่ายให้สำหรับจุดประสงค์ดังกล่าว โดยบัตรนี้จะมอบให้นักกีฬาและผู้ติดตามนักกีฬา ซึ่งต้องติดตามเข้าไปบริเวณพื้นที่อบอุ่นร่างกาย และบริเวณการแข่งขันโดยจำกัดจำนวน และจะออกบัตรให้ในวันชั่งน้ำหนักตัว
6.7 เอกสารควบคุมการใช้สารกระตุ้นมี 2 แบบคือ แบบที่ 1 และแบบที่ 2 เป็นแบบพิมพ์ที่ผู้ควบคุมการใช้สารกระตุ้นเป็นผู้ใช้ในการกำกับดูแลนักกีฬาที่ถูกเลือกมาตรวจการใช้สารกระตุ้น และใช้บันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นตามความต้องการของสหพันธ์ และห้องปฏิบัติการวิเคราะห์
               7. อุปกรณ์อื่น ๆ
7.1 ป้ายแสดงการยก เป็นป้ายซึ่งจัดทำขึ้น มีชื่อนักกีฬา ประเภทที่สังกัด น้ำหนัก และจำนวนครั้งที่ยก ซึ่งจะต้องปรากฎไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน
7.2 ป้ายแสดงผลการแข่งขัน เป็นป้านที่ตั้งอยู่ในที่ ๆ มองเห็นได้อย่างชัดเจนในบริเวณสนามแข่งขัน ซึ่งป้านนี้จะบอกถึงสถิติ ผลการแข่งขัน รุ่นที่แข่งขัน ซึ่งป้ายแสดงผลการแข่งขันจะต้องมีรายละเอียดดังนี้
- หมายเลขนักกีฬา (ตามที่จับฉลาก)
- ชื่อผู้เข้าแข่งขันเรียงตามลำดับที่จับฉลาก
- น้ำหนักตัวผู้เข้าแข่งขัน
- ชื่อทีม หรือสังกัดของผู้เข้าแข่งขัน
- ช่องของการยกน้ำหนักท่าสแนทช์ จำนวน 3 ช่อง
- ช่องของการยกน้ำหนักท่าคลีนแอนด์เจอร์ค จำนวน 3 ช่อง
- ช่องผลการแข่งขันน้ำหนักรวม
- ช่องลำดับการแข่งขัน
7.3 ป้ายแสดงสถิติ ซึ่งในบริเวณแข่งขันต้องจัดให้มีป้ายเพื่อแสดงข้อมูลดังนี้
- สถิติที่ทันสมัยของการยกน้ำหนักรุ่นที่มีการแข่งขัน
- ชื่อนักกีฬาและสังกัดของนักกีฬาผู้เป็นเจ้าของสถิติ
7.4 ห้องหรือสถานที่อบอุ่นร่างกาย ผู้จัดการแข่งขันต้องเตรียมห้องหรือสถานที่ให้นักกีฬาได้อบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน และห้องหรือสถานที่นั้นต้องอยู่ใกล้กับสถานที่แข่งขัน ในห้องนี้จะต้องมีเครื่องมือและพื้นที่การแข่งขันจำนวนเพียงพอ มีคานยก ชอล์ค และสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งมีรายการต่อไปนี้
- ลำโพงกระจายเสียง มีสายเชื่อมโยงกับไมโครโฟนของผู้ประกาศ
- ป้ายแสดงชื่อผู้เข้าแข่งขัน และน้ำหนักตัว ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถทราบล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน
- โต๊ะสำหรับแพทย์
- นาฬิกาจับเวลาที่ใช้ปฏิบัติการในการแข่งขัน
- ระบบไฟแสดงผลการตัดสิน
7.5 ในการแข่งขันยกน้ำหนักในกีฬาโอลิมปิก หรือการแข่งขันยกน้ำหนักระหว่างชาติ เช่น การแข่งขันชิงชนะเลิศของโลก หรือทวีป ซึ่งผู้จัดการแข่งขันต้องเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
- เครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์
- นาฬิกาจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิตอล
- ระบบไฟฟ้าตัดสิน
- บอร์ดไฟฟ้าแสดงชื่อผู้เข้าแข่งขัน น้ำหนักที่ยก และผลการแข่งขัน
7.6 นอกจากนี้แล้ว อาจจะใช้เครื่องมืออื่น ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ซึ่งพัฒนามาใช้ในการแข่งขันได้อีกด้วย เช่น คอมพิวเตอร์
เครื่องแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน
1. ชุดที่สวมในการแข่งขัน
1.1 นักกีฬาจะต้องสวมเสื้อที่สะอาดตามแบบที่เหมาะสมตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- เป็นชิ้นเดียว
- รัดรูปกะทัดรัด
- เสื้อต้องไม่มีคอปก
- อาจจะเป็นสีเดียวกัน
- แขนเสื้อไม่คลุมข้อศอก
- ขากางเกงไม่คลุมหัวเข่า
1.2 เสื้อยืดจะต้องสวมอยู่ในชุดแข่งขัน แขนเสื้อจะต้องไม่ยาวกว่าครึ่งหนึ่งของแขนท่อนบน และไม่มีคอปกเสื้อ
1.3 เสื้อยืดและชุดที่สวมลำตัว ไม่สามารถสวมแทนชุดแข่งขันได้
1.4 ขณะทำการแข่งขัน นักกีฬาต้องสวมเครื่องแต่งกายที่เป็นแบบที่สหพันธ์ของตนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ในพิธีมอบเหรียญรางวัล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันต้องสวมเครื่องแต่งกายดังกล่าวเช่นเดียวกัน
1.5 บนเครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นที่ใช้ในการแข่งขัน สหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติอนุญาติให้เครื่องหมายการค้า (ตราหรือชื่อของสินค้า) ขนาดไม่เกิน 15 ตารางเซนติเมตร ตราหรือชื่อที่มีขนาดใหญ่กว่า 15 เซนติเมตร ถือว่าเป็นการโฆษณาซึ่งจะถูกดำเนินการตามกฎที่เกี่ยวข้อง
1.6 นักยกน้ำหนักจะสวมถุงเท้าก็ได้ แต่ห้ามมิให้สูงกว่าบริเวณใต้หัวเข่า และต้องไม่สวมทับผ้าพัน
2. รองเท้ายกน้ำหนัก
2.1 นักกีฬาจะต้องสวมรองเท้ากีฬา (รองเท้ายกน้ำหนัก) เพื่อป้องกันรักษาเท้า และทำให้กระชับเท้า ซึ่งทำให้ยืนได้อย่างมั่นคงบนเวทีแข่งขัน
2.2 รองเท้าสำหรับยกน้ำหนักจะต้องทำขึ้นในลักษณะที่ไม่ทำให้นักกีฬาได้เปรียบหรือเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และไม่ช่วยรัดหรือยึดส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
2.3 รองเท้าจะมีสายหนังรัดหลังเท้าก็ได้
2.4 ชิ้นส่วนของส้นรองเท้าอาจเสริมให้แข็งแรงได้
2.5 ความสูงของรองเท้าวัดจากพื้นรองเท้าถึงจุดสูงสุด ไม่เกิน 130 มิลลิเมตร
2.6 ปีกของพื้นรองเท้า ณ จุดใด ๆ ต้องกว้างไม่เกิน 5 มิลลิเมตร
2.7 ส้นรองเท้าต้องไม่เรียวแหลม
2.8 รองเท้าจะทำด้วยวัสดุใด ๆ หรือวัสดุผสมก็ได้
2.9 ความสูงของพื้นรองเท้า จะสูงหรือต่ำเพียงใดก็ได้
2.10 รูปร่างของรองเท้าจะเป็นแบบใดก็ได้
3. เข็มขัด
3.1 เข็มขัดต้องกว้างไม่เกิน 120 มิลลิเมตร
3.2 ห้ามคาดเข็มขัดไว้ภายในชุดแข่งขันยกน้ำหนัก
4. ผ้าพัน ผ้าเทป หรือผ้ายืด
4.1 ให้ใช้ผ้ายืด เทป หรือพลาสเตอร์พันข้อต่าง ๆ เช่น ข้อมือ เข่า มือ นิ้ว หรือหัวแม่มือได้
4.2 ผ้าที่ใช้พันอาจทำด้วยผ้าพันแผล ผ้ายืดที่ใช้ทางการแพทย์หรือแถบหนังสัตว์ ผ้ายืดชนิดเป็นชิ้นเดียวกัน หรือปลอกเข่าชนิดยืดได้ ซึ่งช่วยให้เกิดความคล่องในการขยับตัว อาจพันคาดสวมไว้ที่เข่าได้ ผ้าพันที่ใช้ในกรณีนี้จะเสริมให้มีความแข็งแรงยิ่งกว่าเดิมไม่ได้
4.3 ห้ามใช้ผ้าพันข้อมือปิดคลุมผิวหนังเกินกว่า 100 มิลลิเมตร
4.4 ห้ามใช้ผ้าพันเข่าปิดคลุมผิวหนังเกินกว่า 300 มิลลิเมตร
4.5 ผ้าหรือแถบยึดที่ใช้พันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะยาวเท่าไรก็ได้
4.6 อนุญาตให้ใช้พลาสเตอร์ปิดฝ่ามือและหลังมือได้ แต่ต้องไม่ผูกยึดข้อมือกับคานยก
4.7 การพันผ้าที่นิ้วจะกระทำได้ แต่ต้องไม่ปิดปลายนิ้ว
4.8 ในการป้องกันฝ่ามือ อนุญาตให้สวมใส่ถุงมือไม่มีนิ้ว ตัวอย่างเช่น เครื่องป้องกันฝ่ามือของนักยิมนาสติก หรือถุงมือจักรยาน ถุงมือเหล่านี้ให้คลุมเฉพาะนิ้วข้อมือข้อแรก ถ้าหากมีการปิดพลาสเตอร์บนนิ้วจะต้องให้เห็นเด่นชัดว่า พลาสเตอร์และถุงมือนี้แยกจากกัน
4.9 ผ้าพันหรือสิ่งอื่นที่ใช้แทนผ้าพัน ห้ามไม่ให้ใช้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
- ข้อศอก
- ลำตัว
- หน้าขา
- หน้าแข้ง
- แขน
4.10 การคาดพันส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ให้ใช้แถบผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
4.11 ช่องห่างระหว่างชุดแต่งกายกับผ้าพันต้องห่างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร
4.12 ขณะที่อยู่บนเวที ผู้เข้าแข่งขันอาจจะไม่เปลี่ยนเครื่องแต่งกายหรือส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายได้ เช่น ถอดส่วนหนึ่งส่วนใดเพียงส่วนเดียวหรือหลายส่วนออกจากชุดแต่งกาย เป็นต้น
การแข่งขัน
1. การเข้าแข่งขัน
1.1 ในการแข่งขันยกน้ำหนักแต่ละครั้ง ต้องมีการประชุมเกี่ยวกับเทคนิคก่อนที่จะมีการแข่งขันครั้งแรก 1 วัน ในการแข่งขันครั้งสำคัญ ต้องมีการประชุมด้านเทคนิคให้ทันเวลาก่อนการแข่งขัน และต้องระบุวันที่และเวลาไว้ในหนังสือเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน
1.2 จำนวนนักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 3
1.3 การกำหนดรายชื่ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน จะกระทำเป็นขั้นสุดท้ายในการประชุมเทคนิค โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ น้ำหนักตัว รุ่นที่เข้าแข่งขัน วันเกิด และสถิติรวมที่ทำได้ดีที่สุดของนักยกน้ำหนักแต่ละคน หลังจากการเสนอชื่อนักกีฬาแล้ว การแก้ไขชื่อของนักกีฬาจะกระทำมิได้ และการกำหนดรุ่นตามน้ำหนักตัวจะกระทำได้โดยเลื่อนเข้าแข่งขันในรุ่นที่สูงขึ้นถัดไป 1 รุ่นได้ เมื่อดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของสหพันธ์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว นักกีฬาจะเปลี่ยนไปลงแข่งขันในรุ่นที่ต่ำกว่ารุ่นซึ่งสมัครไว้แล้วไม่ได้
1.4 ในการแข่งขันแต่ละรุ่น เลขานุการจัดการแข่งขันจะแบ่งนักกีฬาออกเป็นสองกลุ่ม หรือมากกว่าก็ได้ การแบ่งกลุ่มขึ้นอยู่กับสถิติเดิมที่นักกีฬาได้ทำไว้ก่อนหน้านี้
1.5 ในการประชุมทางเทคนิคต้องกำหนดบุคคลให้ทำหน้าที่คณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ผู้ตัดสิน ผู้ควบคุมด้านเทคนิค และแพทย์สนาม สำหรับการแข่งขันในแต่ละรุ่น แต่ละกลุ่ม
1.6 รายละเอียดข้อมูล จะต้องลงไว้ในสูจิบัตรการแข่งขันด้วย
2. การจับสลากหมายเลขประจำตัว
2.1 ในการประชุมด้านเทคนิค จะต้องจับสลากหมายเลขประจำตัว สำหรับผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้หมายเลขประจำตัวนี้ตลอดการแข่งขันถึงแม้ว่าจะเลื่อนขึ้นไปแข่งขันในรุ่นที่สูงขึ้นก็ตาม
2.2 หมายเลขประจำตัวจะใช้เป็นหมายเลขเรียงลำดับในการชั่งน้ำหนัก และลำดับในการยกตลอดการแข่งขัน
3. การชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขัน
3.1 การชั่งน้ำหนักแต่ละรุ่น ต้องชั่งก่อนลงมือแข่งขัน 2 ชั่วโมง และเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง
3.2 การชั่งน้ำหนักต้องกระทำในห้อง ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกดังต่อไปนี้
- เครื่องชั่งมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ในการแข่งขัน
- โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเลขานุการจัดการแข่งขัน
- แบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการแข่งขัน ปากกา และเครื่องเขียน ฯลฯ
3.3 ผู้ตัดสินกลาง เป็นผู้ควบคุมและใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก และผู้ตัดสินด้านข้างเป็นผู้ลงนามรับรองผลการชั่งน้ำหนักตัวตามที่เลขานุการบันทึก
3.4 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในแต่ละรุ่น จะต้องชั่วน้ำหนักตัวต่อหน้าผู้ตัดสิน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ 3 คน และต่อหน้าเลขานุการจัดการแข่งขัน และอนุญาตให้ผู้แทนของแต่ละทีมเข้าเป็นสังเกตการณ์ได้หนึ่งคน ระหว่างการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขัน บุคคลที่มีสิทธิ์เข้าไปสังเกตการณ์ชั่งน้ำหนักตัว ได้แก่ ประธานเลขาธิการของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ ประธานฝ่ายแพทย์ รวมทั้งกรรมการฝ่ายเทคนิค
3.5 ผลการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขัน จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อผู้เข้าแข่งขันได้ชั่งน้ำหนักตัวครบถ้วนทุกคนแล้วเท่านั้น
3.6 ผู้เข้าแข่งขันจะถูกเรียกชื่อให้เข้าไปในห้องชั่งน้ำหนักครั้งละหนึ่งคน โดยเรียกตามลำดับหมายเลขประจำตัว ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันถูกเรียกชื่อแล้ว แต่ไม่ปรากฎตัวอยู่ในที่นั้น ผู้เข้าแข่งขันคนนั้น ๆ จะได้รับการเรียกชื่อเป็นคนถัดไปเมื่อกลับมาถึงห้องชั่งน้ำหนักแล้ว
3.7 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องแสดงตน โดยแสดงหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวต่อเลขานุการจัดการแข่งขัน
3.8 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องชั่งน้ำหนักโดยการถอดเสื้อผ้าหรือสวมชุดชั้นใน นักยกน้ำหนักหญิงจะต้องชั่งต่อหน้ากรรมการผู้ตัดสินที่เป็นสุภาพสตรีเท่านั้นและผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เลขานุการในการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขันต้องเป็นสุภาพสตรี
3.9 เมื่อผู้เข้าแข่งขันมีน้ำหนักอยู่ในพิกัดที่กำหนดไว้ในรุ่นนั้น ๆ แล้ว การชั่งน้ำหนักก็จะกระทำได้ครั้งนั้นเพียงครั้งเดียว ภายในเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขัน ผู้แข่งขันที่มีน้ำหนักที่ต่ำหรือสูงเกินกว่าเกณฑ์กำหนด จะขอชั่งน้ำหนักเพื่อทำให้น้ำหนักถูกต้องตามพิกัดกี่ครั้งก็ได้ เมื่อหมดเวลาการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันที่มีน้ำหนักน้อยเกินไปจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีน้ำหนักเกินอาจได้รับอนุญาตให้เข้าแข่งขันในรุ่นที่สูงขึ้นถัดไปแต่ในรุ่นที่จะเลื่อนขึ้นไปนั้น ต้องมีนักกีฬาจากประเทศเดียวกันเข้าแข่งขันไม่เกินสองคน การเปลี่ยนในกรณีนี้จะต้องแจ้งให้เลขานุการจัดการแข่งขัน และกรรมการควบคุมทางเทคนิค ซึ่งเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการชั่งน้ำหนักครั้งนั้นทราบ และนักกีฬาผู้นั้นจะต้องมีน้ำหนักตัวถึงเกณฑ์ต่ำสุดของรุ่นถัดไป
3.10 นักกีฬาที่ได้แจ้งไว้ว่าจะเข้าแข่งขันในรุ่นใดรุ่นหนึ่งแล้ว จะเลื่อนรุ่นเข้าแข่งขันในรุ่นที่หนักกว่ารุ่นที่แจ้งไว้ก็ได้ ถ้านักกีฬาคนนั้นหรือผู้แทนแจ้งความต้องการดังกล่าวภายหลังหรือเริ่มการชั่งน้ำหนักตัวในรุ่นที่ได้แจ้งไว้แล้วแต่เดิมโดยที่นักกีฬาคนนั้นมีคุณสมบัติถูกต้องตามกติกาว่าด้วยการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขัน
3.11 ระหว่างการชั่งน้ำหนักก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนของนักกีฬายกน้ำหนักแต่ละคนจะต้องเซ็นชื่อ และเขียนน้ำหนักที่จะยกเป็นครั้งแรก (สแนทช์และคลีนแอนด์เจอร์ค) ลงในใบส่งน้ำหนักเหล็กด้วย
3.12 ก่อนการชั่งน้ำหนัก เจ้าหน้าที่ของสหพันธ์ยกน้ำหนัก หรือทีมยกน้ำหนักของแต่ละประเทศ จะต้องแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะเป็นผู้ติดตามนักกีฬาระหว่างการแข่งขันต่อเลขานุการจัดการแข่งขัน นักกีฬาแต่ละคนจะมีผู้ติดตามเกินสามคนไม่ได้ สำหรับนักกีฬาสองคนจะมีผู้ติดตามเกินสี่คนไม่ได้ เลขานุการจัดการแข่งขันจะเป็นผู้ออกบัตรอนุญาตให้แก่บุคคลที่ระบุชื่อดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่จะเช้าไปในบริเวณที่สำหรับอบอุ่นร่างกายได้ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับบัตรอนุญาตจากเลขานุการจัดการแข่งขันแล้วเท่านั้น บัตรอนุญาตนี้จะออกให้สำหรับแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ
4. การแสดงตัวบนเวที
4.1 สิบห้านาทีก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม ต้องมีการแสดงตัวดังต่อไปนี้
ก. ผู้เข้าแข่งขันในรุ่นหรือกลุ่มน้ำหนักนั้น ๆ ต้องแสดงตัวตามลำดับหมายเลขประจำตัวหลังจากการแสดงตัวแล้ว นักกีฬาจะลงหรือออกจากเวทีการแข่งขันพร้อมกัน
ข. ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันจะแสดงตัวซึ่งประกอบด้วย
- ผู้ตัดสิน
- กรรมการควบคุมด้านเทคนิค
- แพทย์สนาม
- คณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน
- เลขานุการจัดการแข่งขัน
หมายเหตุ บุคคลตามตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น จะแสดงตัวพร้อมกันและลงจากเวทีพร้อมกัน ดนตรีบรรเลง
เพลงมาร์ชที่เหมาะสม กรรมการควบคุมการแข่งขันและเลขานุการจัดการแข่งขันจะแสดงตัว ณ ที่ทำ
งานของตนซึ่งจัดไว้ในบริเวณการแข่งขันในช่วงเวลาก่อนเริ่มการแข่งขัน
5. การดำเนินการแข่งขัน
5.1 ผู้ดำเนินงานจัดการแข่งขัน ต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในจำนวนที่พอเพียงให้ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของเลขานุการจัดการแข่งขัน ในการจัดขั้นตอนและการเพิ่มน้ำหนักตามที่ผู้แข่งขันได้ขอไว้ ในการปฏิบัติหน้าที่นี้ เจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งต้องใช้ใบส่งน้ำหนักเหล็กที่มีช่องสำหรับบันทึกการยก 3 ครั้ง ในการยกสองท่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้เรียกว่า เจ้าหน้าที่เดินน้ำหนักเหล็ก
5.2 เจ้าหน้าที่เติมน้ำหนักเหล็กจะเป็นผู้แจ้งให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน หรือผู้ฝึกสอนของนักกีฬาคนนั้น ๆ เขียนน้ำหนักที่จะยกในแต่ละครั้งลงในใบส่งน้ำหนักเหล็ก แล้วเสนอให้ผู้ประกาศ ณ โต๊ะทำงานทันทีเพื่อจัดลำดับการยก หลังจากยกแต่ละครั้ง ผู้บันทึกผลการยกจะขอให้นักกีฬาหรือผู้ฝึกสอนลงน้ำหนักที่จะยกครั้งต่อไป ในกรณีการแจ้งน้ำหนักที่นักกีฬาจะยกแต่ละครั้ง อาจกระทำได้โดยใช้ระบบติดต่อภายใน ซึ่งมีโทรศัพท์เครื่องหนึ่งอยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย และอีกเครื่องหนึ่งอยู่ที่โต๊ะของเลขานุการจัดการแข่งขัน หรือโดยการใช้กล้องถ่ายวิดีโอที่มีเครื่องรับสองเครื่อง (เครื่องหนึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่อบอุ่นร่างกาย และอีกเครื่องหนึ่งอยู่ที่โต๊ะเลขานุการจัดการแข่งขัน)
5.3 ต้องกำหนดตัวผู้ประกาศไว้อย่างน้อยหนึ่งคนหรือมากกว่า หน้าที่ของผู้ประกาศคือ จัดลำดับการเรียกนักกีฬาขึ้นทำการแข่งขัน โดยการเรียกชื่อนักกีฬา ชื่อประเทศ น้ำหนักของเหล็ก และครั้งที่ยก ผุ้ประกาศจะเรียกนักกีฬาที่จะขึ้นยกคนต่อไปให้เตรียมตัวด้วยเสมอ
5.4 การใส่น้ำหนักเหล็กที่จะยก ให้เริ่มจากน้อยไปหามาก โดยผู้เข้าแข่งขันที่ยกน้ำหนักน้อยที่สุดจะต้องยกก่อนไม่ว่ากรณีใด ๆ หลังจากผู้เข้าแข่งขันได้ยกน้ำหนักที่ใส่ไว้แล้ว จะลดน้ำหนักเหล็กให้ต่ำกว่าเดิมตามที่ได้ประกาศไว้แล้วไม่ได้ ผู้เข้าแข่งขันหรือผู้ฝึกสอนจะต้องสังเกตและเฝ้าติดตามการเพิ่มน้ำหนักเหล็กอย่างต่อเนื่องและต้องพร้อมที่จะทำการยกเมื่อถังน้ำหนักเหล็กที่ขอไว้
5.5 การเพิ่มน้ำหนักเหล็ก จะต้องเพิมขึ้นเป็นทวีคูณของ 2.5 กิโลกรัมเสมอ ยกเว้นการยกเพื่อทำสถิติ ให้เพิ่มเป็นทวีคูณของ 500 กรัม
5.6 การเพิ่มน้ำหนักภายหลังการยกผ่านแต่ละครั้ง จะต้องเพิ่มอย่างน้อย 2.5 กิโลกรัม
5.7 น้ำหนักเหล็กที่ผู้เข้าแข่งขันจะขอยกได้อย่างน้อยที่สุดคือ 27.5 กิโลกรัม ประกอบด้วยคานยก และปลอกยึด กับแผ่นเหล็กขนาด 1.25 กิโลกรัม 2 แผ่น
5.8 ระหว่างการเรียกชื่อจนถึงเริ่มต้นการยก ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 1 นาที เมื่อเวลาผ่านไป 30 วินาที จะมีสัญญาณเตือน ถ้าหมดเวลา 1 นาทีแล้ว ผู้เข้าแข่งขันยังไม่ยกคานขึ้นจากพื้น ผู้ตัดสินทั้งสามคนจะตัดสินการยกครั้งนั้น ไม่ผ่าน เมื่อผู้เข้าแข่งขันยกสองครั้งติดต่อกัน ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 2 นาที และก่อนหมดเวลา 30 วินาที จะมีสัญญาณเตือน และถ้าหมดเวลา 2 นาทีแล้ว ผู้เข้าแข่งขันยังไม่ยกคานขึ้นจากพื้น ผู้ตัดสินทั้งสามคนจะตัดสินการยกครั้งนั้นไม่ผ่าน
5.9 เมื่อผู้เข้าแข่งขันต้องการเพิ่มหรือลดน้ำหนักเหล็กที่เลือกไว้แล้ว ผู้เข้าแข่งขันหรือผู้ฝึกสอนจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่เดินน้ำหนักเหล็กทราบก่อนการเรียกครั้งสุดท้าย
5.10 ก่อนการยกครั้งแรกหรือระหว่างการยกครั้งที่ 2 สามารถขอเปลี่ยนน้ำหนักเหล็กได้เพียงสองครั้ง โดยแต่ละครั้งต้องเขียนลงบนใบส่งน้ำหนักเหล็กพร้อมกับการเซ็นชื่อของผู้ฝึกสอนหรือนักกีฬาที่เข้าร่วมแข่งขันกำกับไว้ด้วย หลังจากที่นักกีฬาถูกเรียกชื่อครั้งสุดท้ายแล้ว จะเปลี่ยนน้ำหนักบนคานยกไม่ได้
5.11 การเรียกชื่อครั้งสุดท้ายคือ กรรมการจับเวลาจะให้สัญญาณก่อนหมดเวลา 30 ิวินาที เพื่อเป็นการรักษาเวลา ผู้ฝึกสอนอาจเข้าไปหาผู้ประกาศ เพื่อขอเปลี่ยนน้ำหนักเหล็กด้วยวาจาแทนการเขียนลงในใบส่งน้ำหนักเหล็ก
5.12 เมื่อผู้เข้าแข่งขันขอเปลี่ยนน้ำหนัก และตัวผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกน้ำหนักที่สูงกว่าเดิม ต้องหยุดนาฬิกาไว้ในระหว่างการเปลี่ยนน้ำหนัก เมื่อเปลี่ยนน้ำหนักเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มจับเวลาต่อไปจนกว่าจะหมดเวลากติกา เมื่อผู้เข้าแข่งขันคนใดขอเปลี่ยนน้ำหนักเหล็ก ลำดับการยกลูกจะเปลี่ยนไปตามหลังผู้แข่งขันรายอื่น เมื่อผู้เข้าแข่งขันนั้นถูกเรียกชื่อให้ยกอีกครั้งหนึ่ง ผู้เข้าแข่งขันนั้นจะมีเวลายกตามปกติคือ 1 นาที
5.13 หลังจากได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ผู้เข้าแข่งขันหรือผู้ฝึกสอนจะเปลี่ยนใจขอลดน้ำหนักที่จะยก หรือถอนตัวออกจากการแข่งขันไม่ได้
5.14 ในการแข่งขันระหว่างชาติ ระหว่างผู้เข้าแข่งขันสองคน หรือระหว่างสองประเทศในรุ่นที่ต่างกัน ผู้เข้าแข่งขันจะยกน้ำหนักสลับกันไปก็ได้ โดยผู้เข้าแข่งขันที่ยกน้ำหนักน้อยกว่าจะต้องเป็นผู้ยกก่อน และใช้ลำดับการยกนี้ตลอดการแข่งขันนั้น ๆ โดยเฉพาะ
5.15 น้ำหนักที่ผู้ประกาศได้ประกาศแล้ว จะต้องปรากฎขึ้นที่กระดานแจ้งผลการแข่งขันทันที
5.16 ระหว่างการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันบนพื้น หรือบนเวที บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากกรรมการควบคุมการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ผู้ประกาศ เจ้าหน้าที่เทคนิค ผู้จัดการทีม (ประเทศละหนึ่งคน) และผู้แข่งชันในรุ่นหรือกลุ่มนั้น ๆ จะเข้าไปในบริเวณการแข่งขันมิได้
6. ลำดับการเรียกนักกีฬาขึ้นยก
6.1 ในการเรียกผู้เข้าแข่งขันให้ออกมายกน้ำหนักนั้น มีข้อพึงพิจารณาอยู่ 4 ประการ คือ
- น้ำหนักของเหล็ก
- ครั้งที่ยก (ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3)
- หมายเลขประจำตัวของผู้เข้าแข่งขัน
- น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (นั่นคือ ผลต่างของน้ำหนักเหล็กเป็นกิโลกรัมที่ยกครั้งก่อนกับน้ำหนักที่ขอยกครั้งต่อไป)
6.2 ในการพิจารณาตามข้อต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ลำดับการเรียกชื่อต้องเรียงลำดับ ดังนี้
- ผู้เข้าแข่งขันที่เรียกน้ำหนักเบากว่า จะเป็นผู้ยกก่อน
- ผู้เข้าแข่งขันที่ยกน้อยครั้งกว่า จะยกก่อนผู้เข้าแข่งขันที่ยกมากครั้งกว่า
ตัวอย่าง การยกครั้งแรกต้องยกก่อนครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3 และการยกครั้งที่ 2 ต้องยกก่อนครั้งที่ 3
- เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันมากกว่าหนึ่งคนเรียกน้ำหนักเท่ากัน และจำนวนครั้งในการยกเท่ากันทุกคน ผู้เข้าแข่งขันจะถูกเรียกตามลำดับเลขประจำตัวจากน้อยไปมาก นั่นคือนักกีฬาที่มีเลขประจำตัวน้อยกว่า จะต้องยกก่อนผู้ที่มีเลขประจำตัวสูงกว่า
ข้อยกเว้น ในกรณีนักกีฬาที่มีเลขประจำตัวสูงกว่าจะยกก่อนนักกีฬาที่มีเลขประจำตัวน้อยกว่า (จะใช้ในกรณีการ
เพิ่มน้ำหนักเหล็กของการยกครั้งที่แล้วกับการขอน้ำหนักเหล็กครั้งต่อไปมากกว่านักกีฬาอีกคน)
- การเรียกชื่อในการยกทั้งท่าสแนทช์และคลีนแอนด์เจอร์ค จะเป็นไปตามลำดับดังตัวอย่าง

ตาราง

ลำดับการเรียกชื่อจะเป็นดังนี้
ตาราง
7. การประกาศผู้ชนะ
7.1 หลังจากการแข่งขันทั้งท่าสแนทช์และท่าคลีนแอนด์เจอร์คแล้วจะประกาศชื่อนักกีฬาผู้เข้าแข่งขัน 6 ตำแหน่งแรก (สำหรับท่าสแนทช์ คลีนแอนด์เจอร์ค และน้ำหนักรวม)
7.2 จะมีเวลาอีก 10 นาที หลังจากการแข่งขันท่าสแนทช์ เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันอบอุ่นร่างกายเตรียมแข่งขันท่าคลีนแอนด์เจอร์ค
8. การจัดลำดับตำแหน่งนักกีฬาและทีม
8.1 ผลการแข่งขันของผู้ชนะเลิศ จะมีการมอบรางวัลให้สำหรับการยกแต่ละท่าคือ ท่าสแนทช์ ท่าคลีน
แอนด์เจอร์ค และน้ำหนักรวมของการยกทั้ง 2 ท่า (จำแนกเป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของท่าสแนทช์และดีที่สุดของท่าคลีน
แอนด์เจอร์ค) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะเลิศ ได้ตำแหน่งที่ 2 และที่ 3 ใน 2 ท่าและน้ำหนักรวม ที่เป็นทางการในการแข่งขันภายใต้กฎของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ จะได้รับเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ตามลำดับ
8.2 ในการจัดน้ำหนักของผู้เข้าแข่งขัน ให้คำนวณเป็นน้ำหนักรวมโดยวิธีนำผลการยกที่ดีที่สุดของท่าสแนทช์และท่าคลีนแอนด์เจอร์คมารวมกัน ถ้าผู้เข้าแข่งขันยกน้ำหนักได้สถิติไม่ใช่เป็นทีวีคูณของน้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม เพื่อนำไปพิจารณาคำนวณในน้ำหนักรวมของเขา
8.3 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก และการแข่งขันระดับทวีปหรือการแข่งขันระหว่างภาคพื้นทวีป ซึ่งยอมรับกันโดยประเทศที่เป็นสมาชิกในการแข่งขันนานาชาติ การจัดลำดับทีมเข้าแข่งขัน จะต้องคำนวณจากการรวมคะแนนของนักกีฬาแต่ละคนตามตารางต่อไปนี้
กำหนดให้ 16 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 1
กำหนดให้ 14 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 2
กำหนดให้ 13 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 3
กำหนดให้ 12 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 4
กำหนดให้ 11 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 5
กำหนดให้ 10 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 6
กำหนดให้ 9 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 7
กำหนดให้ 8 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 8
กำหนดให้ 7 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 9
กำหนดให้ 6 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 10
กำหนดให้ 5 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 11
กำหนดให้ 4 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 12
กำหนดให้ 3 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 13
กำหนดให้ 2 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 14
กำหนดให้ 1 คะแนน สำหรับตำแหน่งที่ 15
8.4 คะแนนของทีมสำหรับยกแต่ละท่า (สแนทช์และเจอร์ค) จะบรรจุให้กับทีมเช่นเดียวกับน้ำหนักรวม
8.5 ในกรณีที่ยกน้ำหนักได้เท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีน้ำหนักเบากว่าและอยู่อันดับที่ดีกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า
8.6 เมื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนหรือมากกว่า ยกได้เท่ากันในการแข่งขัน และมีน้ำหนักตัวเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่ยกน้ำหนักนั้นได้ก่อนจะเป็นผู้ที่ได้ลำดับที่ดีกว่า
8.7 ในกรณีที่ทำคะแนนได้เท่ากัน การจัดอันดับของทีมต่าง ๆ ทีมที่มีตำแหน่งที่ 1 มากที่สุด จะได้รับการจัดให้เป็นที่ 1 ในกรณีที่ 2 ทีมมีลำดับที่ 1 เท่ากัน ทีมที่มีตำแหน่งที่ 2 มากกว่า จะได้รับการจัดให้เป็นอันดับที่ 1 และจะพิจารณาตำแหน่งที่ 3 ตามมาในทำนองเดียวกัน
8.8 ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่มีสถิติในการแข่งขันท่าสแนทช์ จะได้รับอนุญาตให้ทำการแข่งขันในท่าคลีนแอนด์เจอร์ต่อไป ซึ่งถ้าเขาสามารถยกได้สำเร็จเขาก็จะได้รับคะแนนเพื่อสะสมเป็นคะแนนของทีม และได้รับตำแหน่งเฉพาะท่าคลีนแอนด์เจอร์ค แต่จะไม่มีคะแนนให้สำหรับน้ำหนักรวม
8.9 เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันได้รับความสำเร็จในท่าสแนทช์ แต่ไม่มีสถิติในท่าคลีนแอนค์เจอร์ค
เขาจะได้รับคะแนนสะสมเป็นคะแนนของทีม และได้รับตำแหน่งเฉพาะในท่าสแนทช์ แต่จะไม่มีคะแนนให้สำหรับน้ำหนักรวม
เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ในการแข่งขัน
1. กรรมการควบคุมการแข่งขัน
1.1 หน้าที่ของกรรมการควบคุมการแข่งขันคือ ดูแลให้การแข่งขันเป็นไปตามกติกาทางด้านเทคนิคอย่างถูกต้อง
1.2 กรรมการควบคุมการแข่งขันทั้งหมด จะต้องเป็นกรรมการผู้ตัดสินชั้น 1
1.3 กรรมการควบคุมการแข่งขันทั้งหมด ต้องมาจากประเทศที่ต่างกัน
1.4 ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิด และการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันไว้ 2 ชุด (ชุดที่ 1 และชุดที่ 2)
1.5 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันแต่ละชุด จะประกอบด้วยสมาชิก 5 คน และจะมีประธานกรรมการควบคุมการแข่งขัน 1 คน และอาจจะมีการแต่งตั้งกรรมการการควบคุมแข่งขันสำรองไว้ด้วยก็ได้
1.6 ในระหว่างการแข่งขันและหลังจากการเตือนครั้งแรกแล้วกรรมการควบคุมการสามารถลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทำหน้าที่กรรมการตัดสินคนใดคนหนึ่ง ซึ่งแสดงออกให้เห็นว่าไร้ความสามารถในการทำหน้าที่ตัดสิน


1.7 หลังจากสังเกตการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินตลอดการแข่งขันสมาชิกของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน จะทำรายงานประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินโดยใช้แบบรายงานพิเศษคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคจะเป็นผู้รวบรวมรายงานการประเมินผลนี้ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคและเลขาธิการสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาสรุปผล และลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น