วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มวยปล้ำ

กติกามวยปล้ำ
         


                               มวยปล้ำเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ในกีฬาโอลิมปิกจะมีการแข่งขันอยู่ 2 ประเภทคือ ฟรีสไตล์ และเกรโค-โรมัน (Greco Roman) ผู้เข้าแข่งขันจะแข่งขันกันเป็นรอบ จนกระทั่งถึงรอบสุดท้าย ซึ่งจะเหลือผู้เข้าแข่งขัน 3 คน การตัดสินจะใช้ระบบคะแนน โดยผู้ที่ถูกตัดคะแนนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
สนามแข่งขัน
สนามที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะมีพื้นที่ 12 ตารางเมตร เขตต่อสู้จะเป็นพื้นที่ล้อมรอบด้วยวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตร และจะมีวงกลมชั้นในซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ที่มุมด้านทะแยงของสนามแข่งขันจะเป็นมุมของคู่แข่งขัน ซึ่งจะทำเครื่องหมายไว้ด้วยสีน้ำเงินด้านหนึ่ง และสีแดงอีกด้านหนึ่ง พื้นสนามอาจยกสูงขึ้นก็ได้ แต่ต้องสูงจากพื้นไม่เกิน 1.1 เมตร
เจ้าหน้าที่
ประกอบด้วย
1. กรรมการผู้ห้ามบนเวที
2. ประธานกรรมการ
3. กรรมการให้คะแนน
4. กรรมการรักษาเวลา
ประธานกรรมการ จะทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน และเป็นผู้ชี้ขาดหากมีการขัดแย้งระหว่างกรรมการผู้ตัดสิน และกรรมการให้คะแนนเกี่ยวกับผลการแข่งขัน
กรรมการผู้ห้ามบนเวที จะทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันบนเวที โดยจะสวมเสื้อสีขาวและมีปลอกแขนข้างหนึ่งเป็นสีแดงอีกข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน ทำหน้าที่เริ่มและยุติการแข่งขัน และเป็นผู้ประกาศผลผู้ชนะ
กรรมการให้คะแนน ทำหน้าที่เก็บรักษาและลงคะแนนในใบให้คะแนนช่วยกรรมการผู้ตัดสินในการตัดสิน และช่วยแจ้งการทำผิดหรือการทำคะแนนได้ในกรณีที่กรรมการผู้ตัดสินมองไม่เห็น โดยยกป้ายสีแดงหรือน้ำเงินเพื่อแจ้งให้กรรมการผู้ตัดสินทราบ
การแต่งกาย
ผู้เข้าแข่งขันจะสวมชุดที่เป็นผ้าชิ้นเดียวรัดรูป คนหนึ่งสีแดงอีกคนหนึ่งสีน้ำเงิน และต้องสวมเครื่องป้องกันอวัยวะสำคัญ อนุญาตให้ใช้ปลอกเข่าได้ รองเท้าให้ใช้แบบหุ้มข้อไม่มีส้นหรือไม่มีส่วนใดทำด้วยโลหะ ห้ามทาตัวด้วยน้ำมันหรือของลื่นต้องโกนหนวดและเครา ยกเว้นหนวดเคราที่ขึ้นอยู่แล้วหลายเดือน และเล็บมือต้องตัดสั้น
การแบ่งรุ่น
แบ่งออกเป็น 10 รุ่น คือ
ตาราง
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันแต่ละคู่ใช้เวลาการปล้ำ 3 ยก ยกละ 3 นาที นอกจากจะมีการชนะกันเกิดขึ้นก่อน ระหว่างการแข่งขัน กรรมการรักษาเวลาจะแจ้งเวลาให้ทราบทุก ๆ นาที และจะสั่นระฆังเป็นสัญญาณเมื่อหมดเวลา ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณโดยการเป่านกหวีด การปล้ำหลังจากสัญญาณระฆังหรือนกหวีดดังจะไม่ถือเป็นผลการแข่งขัน ในระหว่างพักยกผู้เข้าแข่งขันอาจได้รับคำแนะนำ และการนวดตัวจากโค้ชหรือพี่เลี้ยงได้จนถึงอีก 5 นาทีก่อนระฆังสัญญาณจะดังขึ้น การแข่งขันจะยุติลงหากมีการหยุดชะงักเกิน 5 นาที
การให้คะแนน
ผู้เข้าแข่งขันที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลง หรือได้คะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ถ้าคะแนนเท่ากันหรือต่างกันน้อยกว่า 1 คะแนน จะถือว่าการแข่งขันนั้นเสมอกัน
กรรมการผู้ให้คะแนนจะต้องบันทึกคะแนนลงในแบบฟอร์มให้คะแนนตามเกณฑ์ต่อไปนี้
1. คะแนนสำหรับผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงสู่พื้น และควบคุมบนหลังคู่ต่อสู้ได้ เปลี่ยนจากท่าเสียเปรียบเบื้องล่างมาอยู่เบื้องบนได้ สามารถจับคู่ต่อสู้ได้ถูกวิธี แต่ไม่ทำให้คู่ต่อสู้ในตำแหน่งอันตราย หรือให้คะแนนแก่ผู้ที่คู่ต่อสู้ถูกทำโทษ โดยการเตือนหรือถูกตัดคะแนน
2. คะแนนสำหรับผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงจากท่ายืน และทำให้คู่ต่อสู้อยู่ในท่าอันตรายได้ไม่น้อยกว่า 5 วินาที สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงอย่างรวดเร็วหรือให้แก่ผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มกลิ้งจากไหล่ข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
3. คะแนนสำหรับผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้อยู่ในท่าอันตรายได้นานกว่า 5 วินาที (ไหล่ทั้งสองทำมุมกับพื้นน้อยกว่า 90 องศา)
4. คะแนนสำหรับท่าทุ่มสวยงาม และสำหรับผู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้อยู่ในท่าอันตรายโดยตรงและทันทีตั้งแต่ 5 วินาทีขึ้นไป
การดำเนินการแข่งขัน
ก่อนการแข่งขันจะเริ่ม ผู้เข้าแข่งขันทั้งคู่ต้องจับมือกันกลางเวทีก่อน แล้วจึงกลับไปยืนรอที่มุมจนกว่ากรรมการผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดเริ่มการแข่งขัน ซึ่งทั้งคูจะต้องเริ่มการปล้ำจากท่ายืน แม้ว่าในบางขณะผู้เข้าแข่งขันคนใดจะถูกจับมือล็อคลงนอนกับพื้น ถ้าหากกรรมการสั่งแยกหรือหมดยก เมื่อเริ่มปล้ำใหม่ก็จะยังคงใช้ท่ายืนอยู่เหมือนเดิม แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันผู้นั้นออกนอกเวที เขาจะต้องกลับเข้ามาเริ่มต้นแข่งขันใหม่ด้วยท่าคุกเข่า โดยผู้เข้าแข่งขันที่ออกนอกเวทีจะต้องอยู่ในท่าคุกเข่าให้มือและเข่าห่างกันอย่างน้อย 20 เซนติเมตร แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่งยืนและวางมือทั้งสองบนหลัง เมื่อกรรมการผู้ตัดสินเป่านกหวีดจึงจะเริ่มทำการปล้ำต่อไปได้
การแจ้งอันตราย
อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อมีการล้มลงเกิน 90 องศา หลังแตะพื้นเวที เช่น ถูกล็อคตัวโค้งแบบสะพาน พยายามหลบเลี่ยงจากการทำให้ล้ม โดยใช้ศอกเพื่อให้ไหล่พ้นพื้นเวที สัมผัสพื้นเวทีด้วยไหล่ข้างหนึ่ง โดยไหล่อีกข้างหนึ่งเอนผ่าน 90 องศาในแนวดิ่งกับไหลอีกข้างหนึ่ง หรือเมื่อถูกพลิกตัวคว่ำท้อง หรือออกแตะพื้นเวที กรรมการผู้ตัดสินจะนับ 1 ถึง 5 เมื่อเห็นว่าผู้เข้าแข่งขันอยู่ในท่าที่อันตราย
การทำให้ล้ม
เมื่อไหล่ทั้งสองแตะพื้นเวที และกรรมการผู้ตัดสินนับ 1 ถึง 3 โดยใช้มือตบพื้นเวทีและเป่านกหวีด จะถือว่าเกิดการทำให้ล้ม
การปล้ำที่บริเวณขอบเวที
ในระหว่างการปล้ำ ถ้าผู้เข้าแข่งขันที่ถูกจับกดอยู่เบื้องล่างยังอยู่ในเขตเวที การปล้ำจะยังคงดำเนินต่อไป การปล้ำจะหยุดเมื่อผู้เข้าแข่งขันทั้งสองออกนอกเวที (เริ่มต้นด้วยท่ายืน) ศีรษะหรือไหล่ของผู้เข้าแข่งขันที่อยู่เบื้องล่างออกนอกเวที หรือเป็นผลจากการปล้ำที่ทำให้ศีรษะของผู้เข้าแข่งขันที่อยู่เบื้องล่างแตะพื้นนอกเวที
การปล้ำแบบเกรโค-โรมัน
ใช้หลักการปล้ำแบบเดียวกับแบบฟรีสไตล์ แต่มีข้อห้ามเพิ่มเติม คือ
1. ห้ามจับหรือยึดขาคู่ต่อสู้
2. ห้ามจับ บีบ หรือรัดคู่ต่อสู้ด้วยขา
3. ห้ามใช้ขาดัน ยก หรือกดคู่ต่อสู้
การไม่ต่อสู้        จะถือว่าเกิดการไม่ต่อสู้ เมื่อ
1. ไม่สามารถหลุดจากการจับหรือยึดของคู่ต่อสู้
2. ถูกจับนอนราบกับพื้นเวทีนานพอสมควร
3. วิ่งหนีออกจากเวที หรือจับมือกับคู่ต่อสู้
การปล้ำผิดกติกา
การปล้ำผิดกติกา มีดังนี้
1. เหยียบเท่าคู่ต่อสู้
2. จับหน้าของคู่ต่อสู้บริเวณระหว่างคิ้วกับปาก
3. รวบหรือบีบคอคู่ต่อสู้
4. ใช้ศอกหรือเข่ากระทุ้งท้องคู่ต่อสู้
5. จับยึดขอบเบาะ (เวที)
6. ขัดเท้าหรือใช้เท้าเตะขาคู่ต่อสู้
7. ดึงผม เนื้อ หู อวัยวะเพศ หรือเครื่องแต่งกายของคู่ต่อสู้
8. บิดนิ้ว บิดปลายเท้า เตะ ผลัก หรือดันคู่ต่อสู้
9. ดึงหรือยึดให้เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเกิดการกระดูกหัก
10. งอแขนคู่ต่อสู้มากกว่า 90 องศา
11. ใช้มือจับหรือยึดศีรษะคู่ต่อสู้
12. ใช้ขาไขว้เพื่อหนีบจับ หรือยึดศีรษะหรือลำตัวของคู่ต่อสู้
13. พูดกับคู่ต่อสู้ระหว่างการแข่งขัน
14. ดึงแขนคู่ต่อสู้ให้ไขว้มาทางด้านหลัง
15. ใช้แขนและต้นแขนบีบหรือรัดคู่ต่อสู้
16. ยกคู่ต่อสู้ขึ้นทุ่มจากท่าสะพานโค้ง
17. เข้าเกี่ยวยึดคู่ต่อสู้จากด้านหลังในท่ายืนเตรียม หรือคู่ต่อสู้ก้มศีรษะลง
18. ท่ายึดศีรษะคู่ (ดับเบิลเนลสัน) ทำได้ แต่ต้องเข้ายึดจากด้านข้างและต้องไม่ใช้ขาปะทะคู่ต่อสู้
การตัดคะแนน
ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดคะแนน เมื่อ
1. ไม่ยอมเข้าปล้ำหลังจากถูกเตือนแล้ว
2. ขาดระเบียบวินัย
3. ทำผิดกติกา
4. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกรรมการหลังจากถูกเตือนแล้ว 2 ครั้ง
5. เถียงกรรมการให้คะแนน หรือประธานกรรมการ
6. ไม่พยายามต่อสู้หรือทำคะแนนใน 3 นาทีแรก
7. เมื่อถูกกรรมการเตือนแล้วยกมือขึ้นเพียงข้างเดียว แต่อีกข้างหนึ่งยังจับหรือยึดคู่ต่อสู้อยู่ ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเตือนถึง 3 ครั้ง จะต้องออกจากการแข่งขัน
การคัดออก
ผู้เข้าแข่งขันจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน เมื่อถูกแจ้งคะแนนโทษถึง 6 คะแนน การคัดออกจะดำเนินต่อไปจนเหลือผู้ถูกแจ้งคะแนนโทษต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 3 คน
การปรับแพ้
ผู้เข้าแข่งขันอาจถูกปรับแพ้ ถ้าปล้ำด้วยความรุนแรงและอันตราย แม้ว่าจะไม่ถูกเตือนถึง 3 ครั้งก็ตาม
การแข่งขันรอบสุดท้าย
จะคัดเลือกจนเหลือผู้เข้าแข่งขันในรอบสุดท้าย 3 คน ซึ่งจะแข่งแบบพบกันหมด โดยผู้เข้าแข่งขันคู่ใดยังไม่เคยแข่งขันกันเลย จะต้องทำการแข่งขัน แต่ถ้าหากเคยแข่งขันกันแล้วก็ไม่ต้องแข่งอีก ให้นำคะแนนลงโทษที่เกิดจากการแข่งขันหนที่แล้วมาใช้ในการพิจารณาตัดสิน
ผลการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันที่เสียคะแนนลงโทษน้อยที่สุดคือผู้ชนะ ถ้าผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมีคะแนนลงโทษเท่ากัน ผู้ชนะคือผู้ที่สามารถล้มคู่ต่อสู้ได้ และหากมี 3 คนที่คะแนนลงโทษเท่ากัน (ทั้งในรอบสุดท้ายและรอบคัดเลือก) จะตัดสินจากจำนวนการทำล้มการชนะคะแนน การจับคู่เปรียบเทียบ ถ้ายังเสมอกันอยู่ให้ผู้ถูกตัดคะแนนน้อยที่สุดในการแข่งรอบสุดท้ายเป็นผู้ชนะ และหากยังคงเสมอกันอีกให้ตัดสินเป็นเสมอกัน
คะแนนลงโทษ และผลการแข่งขัน
0 ชนะโดยการทำล้ม
0 ชนะ 12 คะแนน หรือมากกว่า
ชนะระหว่าง 8-11 คะแนน
1 ชนะน้อยกว่า 8 คะแนน
3 แพ้คะแนนน้อยกว่า 8 คะแนน
3 แพ้จากการทำล้ม
3 แพ้คะแนนระหว่าง 8-11 คะแนน
4 แพ้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป
4 แพ้เนื่องจากการไม่พยายามต่อสู้
0 ชนะเนื่องจากคู่แข่งขันไม่พยายามต่อสู้ และผู้ชนะไม่ถูกกรรมการเตือน
1 ชนะเนื่องจากคู่แข่งขันไม่พยายามต่อสู้ และผู้ชนะถูกเตือน 1 ครั้ง
2 ชนะเนื่องจากคู่แข่งขันไม่พยายามต่อสู้ และผู้ชนะถูกเตือน 2 ครั้ง

4 ออกจากการแข่งขันเนื่องจากการบาดเจ็บ

การเเข่งกรีฑา

ประวัติกรีฑา


          กรีฑาถือได้ว่าเป็นกีฬาที่เก่าแก่ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ เนื่องจากในสมัยก่อนมนุษย์ต้องอาศัยการวิ่งในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ร้าย วิ่งไล่เพื่อจับสัตว์เอาไว้เป็นอาหาร ฯลฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนการวิ่งในประเภทต่าง ๆ  นอกจากการวิ่งแล้ว ในยุคก่อนยังมีการกระโดด การใช้อาวุธต่าง ๆ ซึ่งนั้นก็เป็นที่มาของกีฬากรีฑาหลากหลายประเภทนั่นเอง

          วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอนำประวัติกรีฑา ความเป็นมาและประเภทของกีฬากรีฑาแต่ละชนิด พร้อมทั้งกฎกติกาการเล่นต่าง ๆ ที่ถูกต้อง มาให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกันค่ะ

  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรีฑา
         
ประวัติกรีฑา
          เชื่อกันว่า ต้นกำเนิดของกรีฑานั้น เริ่มมากจากชาวกรีกโรมัน เมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเจ้าเมืองนั้นอยากให้พลเมืองของกรีกมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง เพื่อรับใช้ประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในสมัยก่อนเชื่อว่า มีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสพยายามทำตัวให้เป็นที่โปรดปราน ด้วยการทำพิธีกรรมบวงสรวงต่าง ๆ พร้อมเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแคว้นอีลิส เพื่อให้เกียรติแก่เทพเจ้า โดยมีกีฬาที่ชาวกรีกเล่นนั้น มี 5 ประเภท คือ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน ขว้างจักร ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่า นอกจากกีฬามวยปล้ำแล้ว กีฬาทั้ง 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกีฬากรีฑาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการแข่งขันติดต่อกันมาเป็นเวลานานกว่า 1,200 ปี เลยทีเดียว
          ต่อมากรีกเสื่อมอำนาจลง และตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกเลยเสื่อมลงตามลำดับ ใน พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) เนื่องจากจักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมัน มีคำสั่งให้ยกเลิกการเล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าประชาชนเล่นกีฬาเพื่อการพนัน ไม่ได้เล่นเพื่อสุขภาพแต่อย่างใด และนับตั้งแต่นั้นกีฬาโอลิมปิกก็ได้ยุติเป็นระยะเวลานานกว่า 15 ศตวรรษ
          หลังจากนั้น ก็ได้มีบุคคลสำคัญ กลับมารื้อฟื้นให้กีฬาโอลิมปิกกลับมาเริ่มอีกครั้ง โดย บารอน ปีแอร์ เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ชักชวนบุคคลคนสำคัญของชาติต่าง ๆ เข้ามาร่วมประชุม เพื่อแข่งขันกีฬาร่วมกัน โดยให้จัดการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง พร้อมระบุข้อตกลงในการเล่นกีฬากรีฑาเป็นหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและอนุสรณ์แก่ชาวกรีกในสมัยโบราณ ผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ กีฬาโอลิมปิกได้เริ่มแข่งขันขึ้นอีกครั้ง ใน พ.ศ.2439 (ค.ศ. 1896) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก
ประวัติความเป็นมาของกรีฑาในประเทศไทย
          ผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทยนั้นก็ คือ กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาระดับนักเรียน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง โดยมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี และได้จัดตั้งให้มีสมาคมกรีฑาสมัครเล่นประเทศไทยขึ้น 

  ประเภทของกรีฑา



1. กรีฑาประเภทลู่
          กรีฑาประเภทลู่เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่งตลอดระยะทาง ใช้การวิ่งเป็นสำคัญตัดสินแพ้ชนะกันด้วยเวลาการแข่งขันที่นิยมกันทั่วไปมี ดังนี้
          1.1 ) การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ซึ่งจะต้องวิ่งในลู่ของตนเองตลอดระยะทาง โดยแบ่งระยะทางวิ่งออกเป็น 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร
          1.2) การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทางตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,500 เมตร
          1.3) การวิ่งระยะไกล หมายถึง การวิ่งในระยะทางมากกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป และการวิ่งมาราธอน (42.195 เมตร )
          1.4) การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันที่แบ่งเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้แข่งขันเท่า ๆ กัน มีดังนี้...
            การวิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันต้องวิ่งในระยะทางเท่ากัน เช่น 5 x 80, 8 x 50, 4 x100,4 x 200, 4 x 400 เมตร เป็นต้น
            การวิ่งผลัดต่างระยะ หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกัน วิ่งในระยะทางไม่เท่ากัน เช่น 80 x 120 x 120 x 80 เมตร เป็นต้น
          1.5) การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งตามลู่วิ่งข้ามสิ่งกีดขวางความสูง และจำนวนรั้วที่ใช้แข่งขันในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป เช่น วิ่งข้ามรั้ว 100 ,110,400 เมตร เป็นต้น



2. กรีฑาประเภทลาน
          กรีฑาประเภทลาน เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทาง  อาจเป็นความไกลหรือความสูง โดยแบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
          2.1) ประเภทที่ตัดสินด้วยความไกล ได้แก่ กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มลูกน้ำหนัก ขว้างค้อน ขว้างจักร และพุ่งแหลน
          2.2) ประเภทที่ตัดสินด้วยความสูง ได้แก่ กระโดดสูง และกระโดดค้ำ

3. กรีฑาประเภทผสม
          กรีฑาประเภทผสมเป็นการแข่งขันที่นำกรีฑาประเภทลู่ และลานบางส่วนผสมกัน แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
          3.1) ประเภทชาย มีกรีฑาประเภทผสมให้เลือกแข่งขันได้ 2 แบบ ดังนี้
            ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 รายการ ทำการแข่งขันภายในวันเดียว ตามลำดับ คือ กระโดดไกล, พุ่งแหลน , วิ่ง 200 เมตร, ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร
            ทศกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้
          วันที่หนึ่ง :  วิ่ง 100 เมตร กระโดดไกล ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูง และวิ่ง 400 เมตร
          วันที่สอง :  วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร ขว้างจักร กระโดดค้ำ พุ่งแหลน และวิ่ง 1,500 เมตร
          
3.2) ประเภทหญิง มีการแข่งขันเพียงแบบเดียว คือ สัตตกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน   7 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้
          วันที่หนึ่ง :  วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร, กระโดดสูง, ทุ่มลูกน้ำหนัก และวิ่ง 200 เมตร
          วันที่สอง :  กระโดดไกล, พุ่งแหลน และวิ่ง 800 เมตร
          สำหรับกรีฑาประเภทผสมนั้น ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขัน ถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน
  กติกากรีฑา
การแข่งขันประเภทลู่ ประกอบไปด้วย...
การแข่งขันวิ่ง
 
          1. ประเภทวิ่ง 100 เมตร, 200  เมตร, 400 เมตร, ข้ามรั้ว 100 เมตร, ข้ามรั้ว 110 เมตร
          2. ประเภทวิ่ง 400 เมตร, 800 เมตร, วิ่งผลัด 4x100 เมตร, วิ่งผลัด 4x400 เมตร
          3. ประเภท 1,500 เมตร
          4. ประเภท 3,000 เมตร, วิ่งวิบาก 3,000 เมตร
          5. ประเภท 5,000 เมตร
          6. ประเภท 10,000 เมตร

การแข่งขันวิ่งผลัด
          1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20 เมตร โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
          2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x200 เมตร นักกีฬาคนที่ 1 และ คนที่ 2จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3 จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 เมตร)
          3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x400 เมตร คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตนเอง จนกระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 เมตร ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่งเรียงตามลำดับออกมา
          4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเอง หรือภายในเขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
          5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
          6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 เมตร, 4x400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีม ให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว แล้วตัดเข้าช่องในได้

 การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว
          นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 ครั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน
          สิ่งต้องห้าม :  วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม
การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
          1. การแข่งขันประเภทกระโดด ได้แก่ กระโดดสูง, เขย่งก้าวกระโดด, กระโดดสูง, กระโดดค้ำถ่อ
          2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง ได้แก่ ทุ่มน้ำหนัก, ขว้างจัก, ขว้างฆ้อน, พุ่งแหลน

การแข่งขันกระโดดไกล
          การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอกันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น

การแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด
          ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบกระดานลงสู่พื้น
          จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่งขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ
การแข่งกระโดดค้ำถ่อ
          หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บการแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ   
การแข่งขันทุ่มน้ำหนัก
          นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขันรอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป
          การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวาง หรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลม จะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง
          ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน
              ห้ามสวมถุงมือ 
          ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า
          สามารถใช้สารทามือได้
          สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ของกระดูกได้

          ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น

การขว้างจักร
          จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมีเท่านั้น ห้ามออกนอกวงกลม จนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว และต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกได้ ส่วนจักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม และห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น

การขว้างฆ้อน
          ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง การขว้างเริ่มจากในวงกลม เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว ส่วนถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์ว จะถือว่าการประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้น นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา

การพุ่งแหลน
          ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน
          ห้ามใช้วิธีเหวี่ยงหรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ
          การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆ ของแหลน ถือว่าการแข่งขันไม่มีผล
          หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้ง ถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล
          หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ

การแข่งขันเดิน
          ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว